วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เกร็ดน่ารู้เพื่อยืดอายุการใช้งานแอร์รถยนต์ของคุณ

1. ตรวจเช็คระบบปรับอากาศรถยนต์ของคุณทุกๆ 3-6 เดือนจากร้าน/ศูนย์บริการที่ได้มาตรฐาน
2. ควรหมั่นสังเกตระบบแอร์รถยนต์ของคุณด้วยตนเอง หากแอร์ในรถของคุณความเย็นเริ่มลดลงให้สันนิษฐานว่า อาจมีการรั่วของน้ำยาแอร์ หรือท่อต่างๆ ในระบบอุดตัน ให้รีบนำรถของคุณเข้าตรวจเช็คโดยด่วน
3. ต้องแน่ใจว่ารถยนต์ของคุณใช้ระบบปรับอากาศระบบ R-12 หรือระบบ R-134a กันแน่ เพื่อป้องกันการผสมกันของน้ำยาแอร์
4. อย่าผสมน้ำยาแอร์ระบบ R-12 และ R-134a เข้าด้วยกัน เพราะจะทำให้ระบบแอร์รถยนต์ของคุณเสียหายได้
5. น้ำมันคอมเพรสเซอร์ของระบบ R-12 และ R-134a ไม่สามารถใช้แทนกันได้
6. หาก คุณไม่แน่ใจว่ารถยนต์ของคุณใช้ระบบ R-12 หรือ R-134a ให้คุณเปิดตรวจเช็คจากห้องเครื่องที่กระโปรงรถของคุณ โดยดูที่หัวเติมน้ำยาแอร์ ถ้าเป็นระบบ R-12 หัวเติมจะเป็นแบบเกลียว แต่ถ้าเป็นระบ R-134a หัวเติมจะเป็นแบบตัวล๊อค
7. จำ ไว้ว่ารถยนต์ที่ผลิตก่อนปี พ.ศ.2538 ใช้กับแอร์ระบบ R-12 เท่านั้น ส่วนรถยนต์ที่ผลิตหลังปี พ.ศ. 2538 เป็นต้นไปจะใช้ระบบแอร์ R-134a (ยกเว้นรถกระบะต้องผลิตหลังปี พ.ศ. 2539)
8. การรั่วซึมในระบบแอร์รถยนต์ อาจเกิดจากการหมดอายุการใช้งานของอะไหล่ได้
9. หากคุณต้องเติมน้ำยาแอร์บ่อยติดๆกันในเวลา 3 เดือน อาจเกิดการรั่วในระบบแอร์ของคุณเข้าแล้ว
10. ระมัดระวังอย่าใช้น้ำยาแอร์ที่ติดไฟได้
11. การ ถ่ายเทอากาศ การสูบบุหรี่ในรถ ขณะเปิดแอร์ จะทำให้อากาศภายในรถไม่บริสุทธิ์ จึงควรเปิดช่องระบายอากาศเพื่อไล่ควันบุหรี่ออกไป และเมื่อใช้แอร์เป็นระยะเวลานานๆ ความเปิดช่องระบายอากาศเป็นระยะ จะทำให้อากาศบริสุทธิ์ขึ้น
12. เมื่อไม่ได้ใช้รถเป็น เวลานานหลายวันควรติดเครื่องยนต์แล้วเปิดแอร์ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที เพื่อป้องกันการรั่วซึมของน้ำยาแอร์ที่ซีลคอมเพรสเซอร์
13. ควร จอดรถยนต์ในที่ร่ม การจอกรถกลางแดดนาน จะทำให้ภายในรถร้อนอบอ้าว ต้องใช้เวลานานกว่าจะเย็นลงได้ ในกรณีนี้ควรเปิดประตูหรือกระจกไว้สักครู่ ก่อนจะขับรถออกจากที่จอดรถ
14. ควร ปิดช่องระบายอากาศและกระจกให้มิดชิด ขณะใช้เครื่องปรับอากาศเพื่อป้องกันมิให้ลมร้อนภายนอกไหลเข้ามาภายในตัวรถ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ความเย็นลดลงได้
15. ใน การขับรถขึ้นเขา เครื่องยนต์ต้องทำงานหนักขึ้น จึงควรปิดเครื่องปรับอากาศเป็นครั้งคราว เพื่อลดภาระของเครื่องยนต์และ ป้องกันเครื่องยนต์ร้อนเร็วขึ้นด้วย
16. ควรทำความสะอาดแผงระบายความร้อนที่อยู่หน้าหม้อน้ำ โดยใช้ลมเป่าหรือใช้น้ำฉีดแล้วใช้แปรงขนอ่อนๆ แปรง สิ่งสกปรกที่อยู่ตามครีบออกให้สะอาด เพียงเท่านี้ ก็จะช่วยยึดอายุการใ้งานแอร์รถยนต์ของท่านให้ยาวนาน และยังทำให้แอร์เย็นขึ้นอีกด้วย

การสตาร์ทเครื่องยนต์ที่ถูกวิธี

การสตาร์ทเครื่องยนต์ที่ถูกวิธี ไม่ใช่สิ่งที่ยุ่งยากอะไร หากแต่เป็นการทำให้เป็นนิสัยเพื่อถนอมรถ ถนอมอุปกรณ์หลายๆอย่าง เราสามารถทำได้ ซึ่งอันนี้ผมถือปฏิบัติเป็นประจำเสมอๆครับ.... โดย

1. ปลดเกียร์ว่าง เหยียบคลัตช์ให้สุด เพื่อเป็นการตัดภาระที่เครื่องยนต์จะส่งไปที่ชุดคลัตช์ ชุดเกียร์ ถึงจะอยู่ในตำแหน่งเกียร์ว่าง ก็ตาม เพราะอย่างน้อย ลูกปืนชุดคลัตช์เป็นตัวแรกที่รับภาระแรงบิดจากเครื่องยนต์ในจังหวะเริ่มหมุนทำให้ยืดอายุการใช้งาน และเป็นการ Safety ด้วยเพราะอาจเกิดอาการ ปลอกเลื่อนเกียร์ค้าง หรือชุดคลัตช์มีปัญหาไม่ยอมจาก ซึ่งเกิดขึ้นได้น้อยคัน แต่หากเกิดขึ้นแล้ว อันตรายครับ (เบรคมือเอาแรงบิดของเจ้าโก้ไม่ค่อยอยู่นะครับ....)

2. ปิดอุปกรณ์ตัวอื่น หากเปิดค้างไว้ เช่น แอร์ วิทยุ ไฟหน้า ไฟส่องสว่างต่างๆ เพื่อถนอมแบตเตอรี่ คอมฯแอร์ ชุดรีเลย์ไฟฟ้าต่างๆ เพราะเมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ เราต้องการกำลังไฟฟ้าจากแบตเตอรี่มาใช้ในการสตาร์ทเต็มที่ หากแบตฯยังดีอยู่ก็ยังไม่เท่าไร แต่ถ้าไม่ทำเช่นนี้นานๆเข้า แบตฯก็จะเสื่อมเร็วครับ.... ส่วนคอมแอร์นี่ก็ตัวสำคัญครับ หากเราไม่ปิดแอร์ คลัตช์คอมแอร์ยังจับอยู่ จะไปเพิ่มภาระให้เครื่องยนต์ในตอนสตาร์ท และ คลัตช์ของคอมแอร์ ลูกปืนต่างๆก็จะไปไวเช่นกันครับ....

3. บิดกุญแจไปที่ตำแหน่ง ON ดูแผงหน้าปัทม์ รอให้ไฟ Check Engine ซึ่งจะติดสักครู่แล้วดับ แสดงว่ากล่อง ECU ได้พร้อมทำงานเป็นปกติ หากไฟไม่ดับแสดงว่ามีระบบบางอย่างผิดพลาดอยู่ และหากเป็นรถที่มีถุงลมนิรภัยและเบรค ABS ควรรอให้สัญญาณไฟของระบบทั้งสองดับเสียก่อน เพื่อแสดงว่า ระบบเบรค และถุงลมพร้อมทำงานเป็นปกติเช่นกันครับ
เมื่อพร้อมแล้วบิดกุณแจสตาร์ทจนกระทั่งเครื่องยนต์ติด แต่หากบิดแช่ไว้ประมาณ 4-5 วินาทีแล้วเครื่องยนต์ยังไม่ติด อย่าฝืนแช่ไว้ ให้ปล่อยกุญแจ แล้วรอสัก 4-5 วินาทีเช่นกันแล้วลองใหม่ หากเกินสามสี่ครั้งเครื่องยนต์ยังไม่ติดก็ไปหาช่างเลยครับ ทั้งนี้เพื่อป้องกันมอเตอร์สตาร์ทไหม้ หากเราบิดกุญแจแช่นานตอนสตาร์ท

4. เมื่อเครื่องยนต์ติด ไม่ต้องเหยียบคันเร่ง ปล่อยกุญแจ เหยียบคลัตช์ไว้สักครู่ประมาณ 4-5 วินาที แล้วยกคลัตช์ขึ้นช้าๆ เพื่อถนอมลูกปืนคลัตช์ และเพื่อแน่ใจว่าเกียร์ไม่ค้าง ไม่ควรปล่อยคลัตช์ทันทีเพราะจะเปรียบเทียบเครื่องยนต์เริ่มติด ก็เหมือนคนเพิ่งตื่นนอน ควรให้รอบเครื่องยนต์หมุนโดยปราศจากภาระจนรอบเครื่องยนต์เดินเรียบเสียก่อน ECU ของรถ จะสั่งการรอบเดินเบาเองโดยคำนวณจากเซ็นเซอร์ต่างๆ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีสตาร์ทในตอนเครื่องเย็น

5. ไม่ควรออกรถหรือเร่งเครื่องยนต์ทันที เมื่อติดเครื่องยนต์ใหม่ๆ อย่างน้อยประมาณ 10-15 วินาที เพื่อให้แน่ใจว่า รอบเครื่องยนต์ ระบบไฟฟ้าต่างๆทำงานปกติ น้ำมันเครื่องยนต์ไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้สมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแกนเทอร์โบชาร์จ สักพักจึงค่อยเปิดแอร์ หรือวิทยุครับ

6.หากเครื่องยนต์เย็น ควรอุ่นเครื่องยนต์เสียก่อนโดยเดินเบาทิ้งไว้อย่างน้อย 5-10 นาที แต่ไม่ควรเกิน 30 นาที เพราะจะสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ

7.เมื่อจะออกรถในขณะที่อุณหภูมิความร้อนของเครื่องยนต์ยังไม่เต็มที่ (เกจ์วัดอุณภูมิน้ำหล่อเย็นบนแผงหน้าปัทม์ยังไม่ได้ระดับกึ่งกลางระหว่างแถบ C และ H) ควรขับแบบค่อยๆเป็นค่อยไปออกรถนิ่มๆ อย่าเพิ่งลากรอบเครื่องยนต์สูงมาก ค่อยๆเพิ่มความเร็วช้าๆ จนกระทั่งอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นของเครื่องยนต์ได้ระดับ และถึงแม้ว่าออกรถตอนที่เครื่องยนต์ร้อนอยู่ ก็อย่าเพิ่งจมคันเร่งซะมิดหรือออกรถพรวดพราดก็แล้วกันครับ ทั้งไม่ถนอมเครื่องยนต์แล้วยังอันตรายอีกด้วย....

เมื่อจะดับเครื่องยนต์

1.เมื่อจอดรถในที่ๆปลอดภัยแล้ว หรือแวะปั๊ม ซื้อของ หากเราขับทางไกลด้วยความเร็วสูงหรือใช้รอบเครื่องยนต์สูงเช่น ขึ้นเขามาเป็นเวลาพอสมควร อย่าเพิ่งรีบดับเครื่องยนต์ ควรปล่อยให้เครื่องยนต์เดินเบาอย่างน้อย 1-3 นาที แล้วแต่ว่าเราจะซัดมาขนาดไหน (หากมีรถที่มี Turbo Timer ที่คำนวณอุณหภูมิของเครื่องยนต์และมีโหมด Auto ก็จะสะดวกมาก) ทั้งนี้เพื่อถนอมแกนเทอร์โบชาร์จที่ยังหมุนด้วยความเร็วสูงมากอยู่ให้หมุนเฉื่อยลงจนปกติ และให้น้ำมันเครื่องไปทำการระบายความร้อนแกนเทอร์โบชาร์จ และชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องยนต์ด้วย ดังนั้นทั้งเครื่องยนต์ทั้งเทอร์โบก็จะมีอายุยืนยาวขึ้นครับ

แนวทางการใช้รถอย่างง่าย

1. เติมน้ำมันล้นถังไม่เป็นผลดี
ในสภาพอากาศร้อนจัดอย่าเติมน้ำมันจนล้นถัง เพราะความร้อนจะทำให้เพิ่มความดัน มีผลทำให้น้ำมันขยายตัวลื่นไหลออกจากถังเกิดอันตราย สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ

2. ลากเกียร์ทำให้คลัตช์เสียเร็ว
การใช้เกียร์ควรทำให้เหมาะสมและถูกจังหวะ อย่าลากเกียร์บ่อย จะทำให้คลัทช์เสียเร็วและยางหมดอายุเร็วขึ้น

3. อย่าขับรถจนน้ำมันหมดถัง
การขับรถจนน้ำหมดถัง จะทำให้เครื่องกรองน้ำมันมีโอกาสเสียได้มาก เนื่องจากตะกอนบางอย่างที่สะสมอยู่ในถังจะไปค้างที่เครื่องกรอง

4. อย่าใช้อิฐแทนแม่แรงรถ
อิฐสร้างบ้านก้อนที่แข็งที่สุดยังสามารถแตกได้ อย่าใช้รองหรือหนุนรถแทนแม่แรงต่างหาก เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้

5. ใช้แอลกอฮอล์ทำความสะอาดกระจก
แอลกอฮอล์มีคุณสมบัติช่วยฆ่าเชื้อโรคและยังใช้ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่เป็นแก้วหรือกระจกได้ กระจกรถของคุณที่มีคราบสกปรก จะถูกขจัดได้อย่างง่ายดายด้วยแอลกอฮอล์

6. สำรวจกระจกอย่าให้มีรอยร้าว
รอยร้าวที่กระจกเพียงเล็กน้อย จะทำให้ขยายวงกว้างไปสู่การแตกใหญ่ได้ต้องหมั่นสำรวจอยู่เสมอ การเปิดแอร์เย็นจัดในขณะอากาศภายนอกร้อนจะทำให้กระจกหดตัวอย่างรวดเร็ว เป็นสาเหตุให้เกิดการแตกของกระจกได้

7. เครื่องเป่าผมก็มีประโยชน์
รถที่สตาร์ทไม่ติดอันเนื่องมาจากปัญหาความชื้นลองใช้เครื่องเป่าผมเป่าความร้อนบริเวณเครื่องยนต์ที่คิดว่ามีความชื้นจนกว่าจะแห้ง แล้วลองสตาร์ทใหม่ดูอีกครั้ง

8. การควบคุมอารมณ์
การขับรถจำเป็นที่จะต้องควบคุมอารมณ์ด้วยความอดทนยิ่งในสภาพรถติดแสนสาหัส แบบบ้านเรายิ่งต้องมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยไม่สวมวิญญาณร้ายขณะขับรถ ไม่ใช้วาจาหยาบคาย และอย่าพยายามสั่งสอนบทเรียนต่อผู้อื่น

9. โกรธและหงุดหงิดอย่าขับรถเด็ดขาด
อารมณ์โกรธและหงุดหงิด มีผลเสียอย่างยิ่งต่อการใช้รถใช้ถนน ความกดดันทางอารมณ์จะทำให้มีผลต่อเนื่องไปยังผู้ขับขี่รถคนอื่น และนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุครั้งร้ายแรงได้

10. อย่าตอบโต้กับผู้ขับขี่รายอื่น
หากคุณอารมณ์เสียเนื่องจากผู้ขับขี่รถคันอื่น ต้องพยายามเก็บกดอารมณ์ไม่ตอบโต้ การตอบโต้จะทำให้เกิดผลร้ายต่อเนื่อง อย่างน้อยจะทำให้เราขาดสมาธิขาดการสังเกต สุดท้ายก็ลงเอยด้วยอุบัติเหตุ เป็นไปได้น่าจะจอดรถสงบสติอารมณ์สักครู่

11. หลีกเลี่ยงการเดินทางในสภาพอากาศเลวร้าย
เรามั่นใจแค่ไหนในการขับขี่รถในสภาพอากาศที่เลวร้าย เช่น ฝนตกหนัก หมอกลงจัด ทางที่ดีควรจะงดการขับรถ หันไปใช้บริการของรถสาธารณะจะดีกว่า ทั้งนี้ต้องติดตามการพยากรณ์ของอุตุนิยมวิทยา

12. การปรับพวงมาลัย
รถรุ่นใหม่สามารถปรับแกนพวงมาลัยให้เข้ากับสภาวะร่างกายของผู้ขับขี่ได้ อย่าปรับให้พวงมาลัยอยู่ในตำแหน่งที่มองแผงหน้าปัดยาก ล็อคแกนพวงมาลัยให้มั่นคงหลังจากปรับตำแหน่งจนได้ที่แล้ว ห้ามปรับพวงมาลัยในขณะรถเคลื่อนที่เด็ดขาด

13. เกียร์สูงสุด
เป็นเกียร์ที่ใช้กับอัตราเร็วสูง แต่ให้กำลังน้อยที่สุดเราจะใช้เกียร์สูงสุดกับอัตราเร็วของรถยนต์ที่แตกต่างกันได้มา คุณสามารถใช้แล่นด้วยความเร็วคงที่บนถนนทางตรง

14. อย่าให้ไฟดวงหนึ่งดวงใดขาด
การใช้สัญญาณไฟจะทำให้รถคันอื่นที่ตามหลัง หรือสวนทางเข้าใจในเจตนาของเรา แต่หากไฟสัญญาณดวงหนึ่งดวงใดขาดไป จะทำให้เป็นอันตรายแก่การใช้รถใช้ถนน ควรตรวจสอบและหาฟิวส์ หรือไฟอะไหล่ไว้ในรถบ้าง

15. ไฟเตือนภัยมีความสำคัญ
อย่าขับรถยนต์ออกไปเด็ดขาด กรณีที่มีการเตือนของไฟบนแผงหน้าปัดขึ้น เช่น ไฟเตือนความดันน้ำมันหล่อลื่น เพราะจะทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้

16. กระพริบไฟหน้าแทนแตร
การใช้ไฟสูง-ต่ำของไฟหน้า ทำให้เกิดการกระพริบสามารถเตือนผู้ขับขี่รายอื่นด้วย ที่คาดว่าจะไม่ได้ยินเสีสยแตรจากรถของเรา

17. อย่าปล่อยเกียร์ว่างให้รถเคลื่อนลงทางลาดเองไม่ถูกต้อง
การปล่อยให้รถไหลไปเองโดยไม่ใช้การขับเคลื่อนจะทำให้ควบคุมรถยนต์ยาก โดยเฉพาะพวงมาลัยและเบรคเกียร์จะเข้ายากขึ้นอีกด้วย

18. ลดเกียร์ไม่จำเป็นต้องไล่ตามลำดับ
การลดลงเกียร์ต่ำไม่จำเป็นต้องไล่ตามลำดับ เช่น จากเกียร์ห้ามาเกียร์สาม จากเกียร์สามมาเกียร์หนึ่ง เช่นนี้ จะทำให้เรามีเวลามองถนน และจับพวงมาลัยได้นานขึ้น

19. ใกล้ทางแยกอย่าเปลี่ยนเลนกะทันหัน
ต้องตัดสินใจให้ดีว่าคุณกำลังจะไปทางไหน ซ้าย-ขวา หรือตรง อย่าตัดเลนซ้ายมาขวา หรือขวามาซ้าย บริเวณใกล้ทางแยกจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ หรือไม่ก็ถูกตำรวจจับแน่นอน

20. จะไม่มีการชนท้ายรถคนอื่นเด็ดขาด
ไม่ขับชิดคันหน้าเกินไปหรือกะระยะการทำงานของเบรคได้ถูกต้อง

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การใช้รถยนต์ “ป้ายแดง”

     แม้เทคโนโลยีด้านโลหะวิทยาจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้เครื่องยนต์ในยุคปัจจุบันมีความทนทานมากขึ้น แต่ก็ไม่ควรละเลยการรัน-อิน อย่างถูกวิธี เพราะมีผลต่ออายุการใช้งานของรถในระยะยาว

     รถยนต์ใหม่ทุกคันต้องมีระยะ รัน-อิน หมายถึง การใช้งานในระยะแรกอย่างถูกวิธี เพื่อให้ทุกชิ้นส่วนมีการปรับสภาพได้อย่างเหมาะสม การใช้งานแบบเต็มกำลังตั้งแต่แรก ทำให้มีการสึกหรอสูงและรวดเร็วมาก เพราะชิ้นส่วนต่างๆยังไม่เข้าที่ เพียงแต่ในปัจจุบันนี้ได้ลดระยะทางในการรัน-อินจากแต่ก่อนมากแล้ว

     ระยะทาง 0-1,000 กิโลเมตร ควรหลีกเลี่ยงการใช้รอบเครื่องยนต์เกิน 2,500 - 3,000 รอบ/นาที หรือเปลี่ยนความเร็วรอบขึ้น-ลงแบบกระทันหันโดยไม่จำเป็น การเปลี่ยนจากเกียร์ต่ำขึ้นสู่เกียร์สูง ควรทำอย่างนิ่มนวลที่ระดับ 2,500 รอบ/นาที แล้วถอนคลัตช์ช้าๆ ส่วนการเปลี่ยนจากเกียร์สูงลงสู่เกียร์ต่ำ เพราะต้องการใช้เกียร์สัมพันธ์กับความเร็ว ไม่ควรเปลี่ยนลงเกียร์ต่ำ เพราะต้องการใช้เกียร์และเครื่องยนต์ช่วยเบรก ถ้าต้องการเบรกให้เหยียบเบรกตามปกติ ในช่วง 0 - 5,000 กิโลเมตร ไม่ควรใช้รอบเครื่องยนต์เกิน 4,000 รอบ/นาที

     เมื่อถึงระยะ 1,000 กิโลเมตร ให้ถ่ายน้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ และน้ำมันเฟืองทิ้งท้าย เพื่อเอาเศษสกปรกที่หลุดจากชิ้นส่วนต่างๆและปะปนอยู่ในน้ำมันออก(แม้บางศูนย์บริการจะไม่ระบุไว้ก็ตาม)

     การเดินทางไกลกับรถยนต์ใหม่ สามารถทำได้ แต่ต้องใช้เทคนิคและความระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะรถยนต์ที่ยังไม่พ้นระยะรัน-อิน การเดินทางไกลกับการใช้รอบเครื่องยนต์ในรถยนต์ใหม่ อาจมีความเข้าใจผิดในหลายกรณี โดยเฉพาะในเรื่องความเร็ว ผู้ใช้ส่วนหนึ่งคิดว่า ในเมื่อเดินทางไกลมักใช้ความเร็วสูง แล้วจะควบคุมรอบเครื่องยนต์ได้อย่างไร เพราะถ้าขับเร็วก็น่าจะต้องใช้รอบสูงด้วย แต่ความจริงไมได้เป็นเช่นนั้น

     การขับด้วยรอบเครื่องยนต์ระดับปานกลาง ก็สามารถไต่ขึ้นสู่ความเร็วตามกฎหมายกำหนดได้ รถยนต์ส่วนใหญ่ในความเร็วระดับ 90 - 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ในเกียร์สูงสุดไม่ว่าจะเป็นเกียร์ธรรมดาหรือเกียร์อัตโนมัติมักใช้รอบเครื่องยนต์ประมาณ 2,500 - 3,000 รอบ / นาที เท่านั้น ซึ่งไม่สูงเกินไป การเดินทางไกลมีข้อดี คือ สามารถขับได้อย่างนุ่มนวล และควบคุมรอบเครื่องยนต์ได้ตามต้องการ แต่ไม่ควรขับแช่ที่ความเร็วเดียวกันต่อเนื่องนานๆ ควรเปลี่ยนแปลงความเร็วบ้าง โดยอาจสลับด้วยการผ่อนความเร็วลงเล็กน้อย

     สำหรับกรณีคับขัน เช่น ต้องเร่งแซงหลบหลีก ก็สามารถกดคันเร่งได้เลย ไม่ต้องเน้นรักษารอบเครื่องยนต์มากเกินไป จนขาดความปลอดภัยหรือถูกชน

     รถยนต์ส่วนใหญ่มักมีการผลิตครั้งละเป็นจำนวนมากๆ แม้มีการควบคุมคุณภาพที่เข้มงวด ก็ยังอาจเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้ ดังนั้นเจ้าของรถป้ายแดงจึงไม่ควรนิ่งนอนใจ หมั่นตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์ต่างๆ ถ้าพบความผิดปกติจะได้เคลมก่อนหมดประกัน

ที่มา โคโลน่าไทยแลนด์.คอม

การเอาตัวรอดเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน

     บางทีใครจะไปคาดคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น ฉนั้นลองมาดูการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์ ซึ่งผมยกมาแค่สำคัญๆ

ยางแตก
     เมื่อยางระเบิดหรือแตกกระทันหัน ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงความเร็วใด ต้องจับพวงมาลัยให้มั่นคง พยายามรั้งไว้ให้ตรงทิศทาง อย่ากระชากเด็ดขาด ไม่ตกใจกดเบรกอย่างกระทันหัน เพราะรถยนต์อาจหมุนปัดเป๋เสียการทรงตัวได้ ให้ถอนคันเร่ง การลดความเร็ว สามารถใช้เบรกได้เพียงเบา ๆ และต้องเหยียบสลับกับการปล่อย เพื่อไม่ให้น้ำหนักถ่ายลงด้านหน้ามากเกินไป ถ้ายากที่แตกไม่ใช้ล้อขับเคลื่อนก็สามารถใช้เกียร์ช่วยในการลดความเร็วได้
     หากต้องการเปลี่ยนยาง ควรดึงเบรกมือก่อนการขึ้นแม่แรง ป้องกันรถยนต์ไหล แต่ถ้ามีที่สูบลมติดรถยนต์ไว้ และยางที่แบนไม่ได้รั่วเป็นรูขนาดใหญ่ ก็สามารถสูบลมยางให้แข็งกว่าปกติสัก 5-10 ปอนด์/ตารางนิ้ว และค่อย ๆ ขับต่อไปจนถึงร้านเปลี่ยนยางก็ได้


เบรกแตก
     รถยนต์ทุกรุ่นในปัจจุบันใช้น้ำมันเบรกเป็นตัวถ่ายทอดแรงดันระหว่างการกดของเท้าไปยังผ้าเบรก เสมือนเป็นระบบไฮดรอลิกชนิดหนึ่ง ดังนั้นจึงอาจมีการรั่วซึมขึ้นได้ จากการรั่วของลูกยางตัวใดตัวหนึ่งหรือท่อน้ำมันเบรกรั่ว การถ่ายทอดแรงดันก็จะสูญเสียลงไป
     ระบบเบรกมักแบ่งการทำงานออกเป็น 2 วงจร อาจเป็นแบบล้อคู่หน้าและล้อคู่หลัง หรือเป็นแบบไขว้ล้อหน้าซ้าย-ล้อหลังขวา และล้อหน้าขวา-ล้อหลังซ้าย เผื่อว่าวงจรใดวงจรหนึ่งชำรุด เพื่อให้ระบบยังมีประสิทธิภาพการทำงานหลงเหลืออยู่บ้าง ดังนั้นเมื่อเบรกแตกหรือน้ำมันเบรกเกิดการรั่วส่วนใหญ่มักหลงเหลือประสิทธิภาพการทำงานอยู่หลายสิบเปอร์เซ็นต์ หรืออีกไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งในอีกวงจร
     ตั้งสติให้มั่นคง เมื่อเหยียบแป้นเบรกลงไปแล้วลึกต่ำกว่าปกติ ต้องเหยียบซ้ำแรง ๆ และถี่ ๆ เพื่อใช้แรงดันในวงจรที่เหลืออยู่ ผ้าเบรกจะได้สร้างแรงเสียดทาน ขึ้นมาบ้างพร้อมกับการลดเกียร์ต่ำครั้งละ 1 เกียร์ จนกว่าจะถึงเกียร์ต่ำสุด แล้วค่อยใช้เบรกมือช่วย โดยการกดปุ่มล็อกค้างไว้ให้สุด เพื่อไม่ให้เบรกจนล้อล็อก ดึงขึ้นแล้วปล่อยสลับกันไป เพื่อลดความเร็ว ถ้าระบบเบรกชำรุดทุกวงจร ต้องใช้การลดเกียร์ต่ำช่วยเป็นหลัก แล้วค่อยดึงเบรกมือช่วย เมื่อไล่ลงจนถึงเกียร์ต่ำสุดแล้ว
     รถยนต์ที่ใช้ระบบเบรกที่มีเอบีเอส ถ้าต้องการเบรกกระทันหัน อย่าเหยียบแล้วปล่อยสลับกันถี่ๆ แบบเทคนิคการเบรกในยุคเก่า เพราะเอบีเอสจะตัดการทำงาน และไม่สามารถป้องกันการล็อกล้อได้ ต้องเหยียบลงไปให้แน่น ๆ แล้วควบคุมพวงมาลัยไปยังทิศทางที่ควรจะไป นั่นคือวิธีที่ถูกต้องเมื่อต้องเบรกกระทันหันในรถยนต์ที่มีเอบีเอส


รถหลุดออกจากทาง

     อาจเป็นเพราะหักหลบสิ่งกีดขวางอย่างกระทันหัน ทำให้ไถลออกนอกเส้นทาง เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ควรตั้งสติให้มั่น ไม่ควรเหยียบเบรกอย่างแรง เพราะอาจทำให้ล้อล็อกหรือลื่นไถลจนเสียการทรงตัว วิธีที่ถูกต้อง ควรลดความเร็วด้วยการแตะเบรกแล้วปล่อย พร้อมกับการลดจังหวะเกียร์เพื่อใช้เครื่องยนต์ช่วยในการชะลอความเร็วอีกเล็กน้อย นอกจากนั้นสายตายังต้องมองทางไปข้างหน้า เพื่อหลบสิ่งกีดขวาง ไม่ควรหักหลบทันทีเพราะอาจพลิกคว่ำได้


คันเร่งค้าง (สายคลัตซ์ขาด – ปั๊มคลัตซ์รั่ว)
     รถยนต์ที่ใช้ระบบเกียร์ธรรมดา ถ้าสายคลัตซ์ขาดหรือปั๊มคลัตซ์รั่ว ไม่ได้หมายความว่ารถยนต์จะแล่นไม่ได้เลย ยังสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อนำรถยนตร์ออกจากพื้นที่เป็นระยะสั้นๆ โดยไม่ต้องเข็นหรือลากกันได้ไม่ยาก
     วิธีปฏิบัติคือ ตรวจสอบว่าเส้นทางข้างหน้าต้องว่างไม่น้อยกว่า 10-20 เมตร ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด เปิดสวิตซ์กุญแจ เข้าเกียร์ 1 ไว้ กดคันเร่งประมาณ 1-2 ชม. บิดกุญแจสตาร์ทเครื่องยนต์ค้างไว้
ตัวรถยนตร์จะกระตุกเป็นจังหวะตามการหมุนของเครื่องยนต์และไดสตาร์ทเคลื่อนที่กระตุกไปทีละนิดจนกระทั่งเครื่องยนต์ทำงาน ก็กดคันเร่งไปมากขึ้นเพื่อเร่งความเร็ว เกียร์จะไม่สามารถเปลี่ยนได้ แต่สามารถใช้ความเร็วได้เกือบเต็มที่ของความเร็วสูงสุดของเกียร์ 1 คือประมาณ 30-40 กม./ชม. ถ้าเส้นทางข้างหน้าว่างก็สามารถขับไปได้เรื่อย ๆ เมื่อต้องเบรก ก็กดแป้นเบรกลงไปเท่านั้น ปล่อยให้เครื่องยนต์ดับแล้วค่อยเริ่มออกตัวใหม่


เครื่องยนต์ร้อนจัด
     ถ้าไม่ได้เกิดจากการรั่วซึมผิดปกติ แต่เกิดจากการหลงลืมเติมน้ำหม้อน้ำ ก็สามารถเต็มน้ำเข้าไปให้เต็มได้ เพราะถ้ามีการรั่ว เติมลงไปก็รั่วออกมาอีก
     การเติมน้ำ ต้องมีเทคนิคและใจเย็น จอดรถยนต์หลบในที่ปลอดภัย ดับเครื่องยนต์ รอให้เครื่องยนต์เย็นลงบ้าง หาผ้าหนา ๆ และผืนกว้างพอสมควร เช่น ผ้ายางรองพื้นในรถยนต์ คลุมฝาหม้อน้ำให้มิด แล้วบิดออกเล็กน้อยก่อน เพื่อให้แรงดันภายในคลายตัวออกบ้าง
     เมื่อแรงดันคลายตัวออกมามากในช่วงระยะเวลาประมาณ 2-3 นาที ค่อยๆ เปิดฝาหม้อน้ำต่อ ระวังไอหรือน้ำร้อนพุ่งขึ้นมา ต้องคลุมผ้าผืนหนาไว้ให้มิดชิดมาก ๆ
     อย่ารีบเติมน้ำลงไปในทันที ต้องรอให้เครื่องยนต์คลายความร้อน อาจต้องรอถึงกว่า 20-30 นาที การเติมน้ำต้องเติมครั้งละนิด ไม่ควรเกินครึ่งลิตรแล้วทิ้งช่วงสัก 5 นาที เพื่อให้น้ำที่เติมดึงความร้อนกระจายกันให้ทั่ว เพราะโลหะที่ร้อนจัดเมื่อถูกน้ำเย็นทันที จะหดตัวลงอย่างรวดเร็วจนร้าวหรือเสียหายได้


เมื่อมีรถยนต์แล่นสวนมา
     เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นบ่อย โดยเฉพาะในการขับบนถนน 2 เลนสวนกัน ขั้นแรกควรลดความเร็วลง แต่อย่ามากเกินไปจนรถที่ตามมาด้านหลังชนได้ มองกระจกด้านซ้ายเพื่อหาหนทางหนีทีไล่ พร้อมกระพริบไฟสูงและบีบแตรเตือนและเบี่ยงออกทางเลนซ้าย ไม่ควรหลบข้ามเลยไปในช่องทางของรถยนต์ที่แล่นสวนมา เพราะบ่อยครั้งคนขับเพิ่งรู้สึกตัวแล้วหักหลบเข้ามาจนทำให้เกิดการชนกันได้



ที่มา. โคโลน่าไทยแลนด์.คอม

เรื่องคนใช้รถมักเข้าใจผิด

"สตาร์ทรถแล้วออกรถได้เลย"
     รู้ไหมครับว่า เมื่อเครื่องยนต์ทำงานขณะที่ยัง "เย็น" อยู่  เช่น ขณะออกรถจากบ้านไปทำงานตอนเช้าหรือติดเครื่องยนต์เมื่องานเลิกเพื่อกลับบ้าน ไอของน้ำมันเบนซิน หรือดีเซลก็ตามแต่ที่เข้มข้นจะเกาะผนังกระบอกสูบ ทำให้การหล่อลื่นแหวนลูกสูบกับผนังกระบอกสูบไม่เพียงพอ สามารถสร้างความสึกหรอในเครื่องยนต์มากกว่าปกติ แถมยังมีผลทำให้น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพเร็วขึ้นอีกด้วยนะครับ

"รถใหม่เดี๋ยวนี้ ไม่ต้องรันอินแล้ว"
     รู้ไหมครับว่า เศษโลหะที่เกิดจากกระบวณการผลิตมักตกค้างในรถรุ่นใหม่ๆ ถึงจะมีการควบคุมคุณภาพอย่างดีก็เหอะ  การรันอินและเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องสักครั้งก่อน จะทำให้เศษโลหะที่ตกค้างอยู่ในระบบจะได้ถูกชะล้างออกไป การรันอินนั้นเพียงแค่โดยในช่วง 1,000 กม. แรก ไม่เร่งเครื่องยนต์อย่างรุนแรงหรือใช้รอบเครื่องยนต์ที่สูงๆ ไม่เกิน 3,000 rpm. ได้ยิ่งดีและเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามระยะที่ผู้ผลิตกำหนด ก็แค่นั้นเองครับ คงไม่ยากเกินไปนักสำหรับคนขับอย่างเราๆท่านๆ

"ยกขาก้านปัดน้ำฝนขณะจอด เพื่อให้ใบปัดทนทานขึ้น"
     รู้ไหมครับว่า สปริงคือส่วนสำคัญที่ทำให้ที่ปัดน้ำฝนทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยที่มีใบปัดแผ่นยางซึ่งทำหน้าที่รีดน้ำจากกระจก ซึ่งปกติแล้วจะมีอายุการใช้งานไม่เกิน 1 ปี หากใช้นานมากไปเนื้อยางจะแข็งตัว ซึ่งไม่ว่าจะยกหรือไม่ก็ไม่แตกต่างกันเลย แต่ถ้าหากมีการยกก้าน แน่นอนว่าสปริงจะถูกดึงให้ยืดออกตลอดเวลา ยิ่งในสภาวะที่ความร้อนสูง จะเกิดความล้าในสปริงสูงมาก ทำให้อายุการใช้งานสั้นลง แถมต้องจ่ายแพงกว่าเดิมหลายเท่าถ้าต้องเปลี่ยนทั้งชุด

"รถติดไฟแดงค้างเกียร์ D ไว้"
     รู้ไหมครับว่า ในขณะที่รถหยุดนิ่ง เครื่องยนต์จะพยายามสร้างแรงบิดให้สูงที่สุดเพื่อทำให้รถสามารถออกตัวได้อย่างฉับไว การที่เราไปรั้งให้เครื่องยนต์อยู่กับที่นานๆ โดยไม่มีการปล่อยให้เครื่องเดินอย่างอิสระ มักจะทำให้เครื่องยนต์สึกหรอมากขึ้น ยิ่งในกรณีที่ติดไฟแดงแล้วเกิดพลาดปล่อยเบรกให้รถชนท้ายคันหน้าแล้วล่ะก็ เสียหายหลายบาทแน่นอน

"เดินทางไกลลมยางอ่อนดีกว่าแข็ง"
     รู้ไหมครับว่า ยางรถยนต์ไม่ว่าจะเป็นของค่ายไหนก็ตาม  จะแนะนำว่าควรเติมลมยางตามมาตรฐานที่ผู้ผลิตรถยนต์กำหนดไว้ และให้เพิ่มแรงดันลมยางให้สูงขึ้นอีก 2- 3 ปอนด์ เมื่อต้องเดินทางไกล ลมยางที่อ่อนเกินไปจะทำให้หน้ายางด้านนอกสึกมากกว่าด้านในแล้ว ยังอาจส่งผลกับโครงสร้างยางและมีโอกาสทำให้เกิด "ยางระเบิด" ได้ ฉนั้นถ้ามีเวลาก็หมั่นเช็คลมยางรถนะครับ

"ฝนตกใส่ขับ 4 ล้อเกาะกว่า...2 ล้อ"
     รู้ไหมครับว่า ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อนั้นมีไว้เพื่อกระจายแรงบิดให้ไปแต่ละล้ออย่างละเท่าๆกัน ซึ่งส่งผลให้การขับขี่ดีขึ้น สามารถควบคุมรถได้ง่ายขึ้น ดังนั้นคนทั่วๆไปจึงมักจะคิดว่า ฝนตกก็ขับแบบ 4 ล้อสิจะได้เกาะถนน ซึ่งจริงๆแล้ว ไม่ว่าจะระบบไหนก็ตาม การขับขี่ช่วงฝนตกต้องระมัดระวังเป็นพิเศษอยู่แล้ว ผมแนะนำว่า แทนที่จะขับ 4 ล้อ เปลี่ยนเป็นลดความเร็วลง จะได้มีความปลอดภัยเพิ่มขึ้น

"ตั้งศูนย์ล้อหน้าอย่างเดียวก็พอ"
     รู้ไหมครับว่า 70% ของศูนย์ตั้งถ่วงยาง มักคิดแบบนี้ ทั้งที่ความเป็นจริง ไม่ว่าจะล้อไหนๆของรถก็มีความสำคัญทั้งนั้น ดังนั้น ถ้ามีเวลา+มีเงิน ก็ควรตั้งให้ควรทั้ง 4 ล้อเลย แล้วอย่าลืมถ่วงยางให้ครบทุกล้อด้วยนะครับ

"ต้องเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินเวลาข้ามแยก"
    รู้ไหมครับว่า อุบัติเหตุทางรถยนต์เกือบ 10 เปอร์เซนต์ระบุว่า เกิดจากการที่เวลาข้ามแยกแล้วเปิดไฟฉุกเฉิน เพราะเวลาเปิดไฟฉุกเฉิน หากมองมาจากด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว ก็จะนึกว่า รถกำลังเลี้ยว ทำให้การคาดคะเนทิศทางของรถผิด เกิดอุบัติเหตุดังกล่าว

"ฝนตกหนัก หรือหมอกลงจัดต้องเปิดไฟฉุกเฉิน"
    รู้ไหมครับว่า เวลาหมอกลงจัดๆหรือฝนตกหนักๆ แล้วทัศนวิสัยไม่ดี การใช้ไฟฉุกเฉินอาจทำให้คนขับตามหลังสับสนได้ว่า รถกำลังจอดเสีย หรือกำลังขับอยู่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ ซึ่งทางที่ดีที่สุดคือ หยุดรถโดยตีไฟเลี้ยวไว้ หรือจอดในที่ๆสามารถมองเห็นได้ในระยะไกลพอสมควร หากจำเป็นต้องขับรถต่อ ให้พยายามใช้ความเร็วต่ำและเปิดไฟตัดหมอก เพื่อให้เราสามารถมองเห็นทางได้ แต่ถ้ามองไม่เห็นอะไรเลยในระยะ 15 เมตร ควรจอดดีกว่า เพราะยิ่งขับไป ยิ่งอันตราย

"ผ้าเบรคแข็ง หรือ ผ้าเบรคเนื้อแข็ง ไม่ดี"
     รู้ไหมครับว่า "ผ้าเบรค" จำเป็นต้องมีความแข็งและความอ่อนอยู่ ซึ่งโดยทั่วไปจะขึ้นอยู่กับการใช้งานของรถมากกว่า ผ้าเบรกที่ดี จึงเป็นต้องทนความร้อนได้สูงๆ เพื่อไม่ให้ประสิทธิภาพในการเบรกลดลงไป ส่วนจะใช้ยี่ห้ออะไรนั้น ต้องลองศึกษาดูเองครับ